วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


ไท่ซั่งเหล่าจวิน

ไท่ซั่งเหล่าจวิน เป็นเทพที่มาจากความเชื่อในลัทธิเต๋า กล่าวกันว่า ลัทธิเต๋า มีเทพเจ้าสามพระองค์ที่ได้รับการเคารพและกราบไหว้จาผู้คนเป็นอย่างมาก เทพเจ้าทั้งสามเรียกรวมกันว่า “ซานชิง” “ซานชิง” ถือเป็นเทพผู้ชั้นสูงสุดในบรรดาเหล่าเทพและเซียนทั้งหลายบนสวรรค์ เทพซานชิงนี้ได้แก่ เทพอวี้-ชิง-หยวน-สื่อ-เทียน-จวิน, เทพซั่ง-ชิง-หลิง-เป่า-เทียน-จวิน และเทพไท่-ชิง-ต้าว-เต๋อ-เทียน-จวิน ไท่ซั่งเหล่าจวิน นั้นก็คือ องค์ต้าวเต๋อเทียนจวินนั่นเอง และองค์ต้าวเต๋อเทียนจวินองค์นี้ก็คือผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋านั่นเองในช่วงปลายสมัยราชวงศ์โจว เป็นยุคที่มีความวุ่นวายในแผ่นดิน ประวัติศาสตร์ จีน เรียกว่ายุคสงครามระหว่างรัฐ ปราชญ์เมธีนาม เล่าจื่อ ได้เขียนบันทึกที่เรียกว่า “คัมภีร์แห่งเต๋า” หรือ “ต้าวเต๋อจิง” ขึ้นมา ในบันทึกนั้นกล่าวไว้ว่าเทพของลัทธิเต๋ามีสององค์ แต่เมื่อภายหลังที่ศาสนาพุทธได้เข้ามาในประเทศจีนแล้วนั้น ในศาสนาพระพุทธเจ้า 3 องค์คือ พระอมิตาภะพุทธเจ้า, พระศากยะมุนีพุทธเจ้า และพระศรีอารียะเมตรตรัยพุทธเจ้า นักบวชในลัทธิเต๋า จึงอัญเชิญ “เล่าจื่อ” เข้ามาเป็นหนึ่งในสามเทพของเต๋า โดยมีนามว่า ต้าวเต๋อเทียนจวิน ซึ่งก็คือ เทพไท่ซ่างเหล่าจวินนั่นเองแต่เทพไท่ซ่างเหล่าจวินนี่ปรากฏในเรื่อง “ไซอิ๋ว” นั้น ไม่เชิงว่าจะไม่ใช่องค์ต้าวเต๋อเทียนจวิน แต่มีการแต่งเติมโดยใช้ องค์ต้าวเต๋อเทียนจวิน เป็นแบบอย่าง ดังนั้นหากกล่าวถึงไท่ซ่างเหล่าจวินในไซอิ๋วแล้วนั้น จะหมายถึง เทพระดับสูงบนสวรรค์ ที่มีรูปลักษณ์เป็นชายแก่ผมขาว หนวดเคราขาวยาว ถือแส้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนักพรตในลัทธิเต๋า มีหน้าที่ทำยาวิเศษ มีชื่อเรียกหลายๆ อย่างอาธิ เหล่าจวิน, เหล่าจื่อ, เหล่าจื่อต้าวจวิน, หลี่เหล่าจวิน, หลี่ปั๋วหยาง, ปั๋วหยาง เป็นต้นยาวิเศษเป็นสัญลักษณ์หนึ่งแสดงถึงความเชื่อในลัทธิเต๋าที่ถูกกาลเวลาแต่งเสริมเติมใส่สี จนคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงที่เดิมเน้อคำสอนที่มุ่งให้บุคคลเข้าในในธรรมชาติอย่างผู้มีปัญญา และดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายที่สุด กลับถูกเปลี่ยนให้เน้นหนักไปในทางอภินิหารและเวทมนต์ ทำให้ปรัชญาเต๋าได้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในลักษณะของลัทธิศาสนาที่นำเอาความเชื่อในเรื่อง หยินและหยางมาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีนที่เคยบูชาพระเจ้าในธรรมชาติ รวมทั้งความเชื่อในทางไสยศาสตร์ และการเล่นแร่แปรธาตุ การเล่นแร่แปรธาตุในสมัยโบราณคือ การทำยาวิเศษ และยาอายุวัฒนะนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น