เทพเจ้าโป้เส้งไต่เต่
เทพเจ้าโป้เส้งไต่เต่ หรือไตโตก้อง นามของท่านคือ หัวกี้ ชื่อตอนที่ยังไม่สำเร็จอรหันต์ เรียกคุนอาย ตามประวัติ ท่านบำเพ็ญบารมีจนอยู่ในระดับ ไต่ หรือขงจื้อ ( ตามคติแบบจีนโบราณ ผู้บำเพ็ญศีล มี 3 ระดับ คือ เจ๋ง เปรียบได้กับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เต๋า เทียบได้กับพราหมณ์ และไต่ เทียบได้กับขงจื้อหรืออาจารย์)ท่านกำเนิด ในหมู่บ้านเล็กๆ ริมชายฝั่งทะเล ชื่อ แป๊ะเซ่ว หรือศิลาขาว ในอำเภอ ตังอ้าน จังหวัดฮกเกี้ยน สมัยราชวงค์ซ้ง พ่อของท่านชื่อ ท้ง แซ่หงอ แม่ของท่านแซ่อ๋อง เดิมท่านชื่อ ฝุ้น แซ่หงอ ก่อนเกิด แม่ของท่านได้ฝันเห็นดาวปักเต้าทางทิศเหนือวิ่งเข้ามาหาในท้อง และยังได้กลืนเต่าเผือก 1 ตัวเข้าไปในท้อง วันที่ท่านเกิดคือ วันที่ 15 เดือน 3 ของจีน ค.ศ. 979 ได้เกิดมีกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณบ้าน และมีแสงจ้าไปทั่วปุ้น นับว่าเป็นเด็กที่ฉลาดและอัจริยะกว่าใครในแถบนั้น เมื่อตอนอายุ 17 ปี ท่านได้ออกจากบ้านไปเรียนวิชาแพทย์เพื่อรักษาโรคและเรื่องยาสมุนไพรต่างๆ กับผู้รู้นามว่า “ไชอ๋องพู” จนต่อมาได้ออกไปรักษาคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยทั่วหัวระแหงจนเป็นที่โด่งดังไปทั่ว จนพระเจ้าแผ่นดินเรียกให้เข้าไปอยู่ในวัง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง ตลอดชีวิตท่านได้บำเพ็ญเพียรบารมี จนเมื่อวันที่ 12 เดือน 5 จีน ค.ศ. 1036 ท่านได้สำเร็จอรหันต์ และลอยขึ้นสวรรค์ เจ้าสวรรค์แต่งตั้งให้เป็นเทพ นามว่า เชียวเห่งเหลงอ๋อง และได้ยศเป็นไต่เต่ หรือ มหาราช ท่านมีอายุในโลกมนุษย์ 58 ปีเมื่อเป็นเทพแล้ว ท่านปรากฏกายอีกครั้งในสมัยพระเจ้าเกาจงฮ่องเต้ ราชวงศ์ซ้ง ค.ศ.1128 หรือ 92 ปีหลังจากท่านเสียชีวิต ขณะนั้นบ้านเมืองอ่อนแอมาก ทหารจีนก่อนยุคมองโกเลียหรือพวกเง็กฮวย บุกจีน ท่านใช้อิทธิฤทธิ์ทางน้ำทำให้ศัตรูถอยทัพ จน ค.ศ. 1151 ท่านได้ลงมาช่วยคนอีก จนคนในโลกมนุษย์เห็นในบุญญาบารมีของท่าน จึงได้สร้างศาลเจ้าให้ท่าน ปัจจุบันอยู่ที่มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีนหลังจากนั้นท่านก็ได้สร้างอิทธิฤทธิ์ช่วยเหลือคนเรื่อยมา จน ค.ศ.1171 ทางการจึงแต่งตั้งยศให้ท่าน เป็นเทพผู้เมตตา คอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ชื่อคือ ไต่โต่จินหยิน ต่อมา ค.ศ.1227 ท่านได้รับยศเป็นเสนาบดีหรือ ชงเองจินหยิน พอ 5 ปี ถัดมาท่านได้รับยศอีกเป็นเหมี่ยวโตจินหยิน จนมาถึงสมัยหมิง ค.ศ. 1409 ท่านมาปรากฏกายอีก เข้าวังไปช่วยเหลือคน โดยท่านไปในฐานะพราหมณ์ จนเมื่อพระราชินีของพระจ้าเชียงจงเฉียนทรงประชวร รักษาด้วยหมอใดใดก็ไม่หาย ท่านได้เข้าไปถวายการรักษาจนพระราชินีหายป่วยจากโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ ตอนนั้นองค์ฮ่องเต้ไม่ทราบว่าผู้ที่ทำการรักษาเป็นเทพ ท่านจึงทรงประทานทรัพย์สินเงินทองมากมายแก่ท่าน แต่ท่านได้เขียนรูปนกกระเรียนขึ้น และขี่นกกระเรียนนั้นเหาะขึ้นสวรรค์ไป ตอนหลังฮ่องเต้จึงบูรณะศาลเก่าของท่านโป้เส้ง และประทานเสื้อมังกรให้ เทียบยศเท่ากับกษัตริย์องค์หนึ่ง และแต่งตั้งยศ ให้เป็น โป้เส้งไต่เต่ หรือ มหาราช จนถึงปัจจุบันในปีหนึ่งๆ ประชาชนจะไหว้ เทพเจ้าโป้เส้งไต่เต่ 2 ครั้ง คือ ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง
วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ลี้โลเชี้ย
เทพปราบมารซัมไท่จื้อ นาจา ลี้โลเชี้ย โลเชี้ยไท่จื้อ หรือตงตั๋นหง่วนโส่ย ล้วนเป็นชื่อเรียกเทพเจ้าองค์เดียวกัน ตามประวัติ ท่านเป็นเทพผู้เฝ้าอารักขาเง็กเซียนฮ่องเต้อยู่บนสวรรค์ โดยปกติบนสวรรค์จะมีขุนนางเฝ้าอยู่ 5 ทัพ คือ ทิศตะวันตก ตะวันออก เหนือ ใต้ และทัพกลาง โดยลี้โลเชี้ยเฝ้าอยู่ทัพกลาง ท่านมีรูปร่างสูง 6 โยชน์ มี 3 เศียร 9 เนตร 8 กรสมัยเจาเฉา เมื่อ 4,000 กว่าปีก่อน แผ่นดินจีนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เพราะฮ่องเต้ถูกปีศาจจิ้งจอก 9 หางที่แปลงตัวเป็นหญิงงามหลอกล่อให้มัวแต่หลงในกาม ไม่ออกว่าราชการ เง็กเซียนจึงให้ลี้โลชั้ยจุติลงมาบนโลกมนุษย์เพื่อปราบปีศาจ โดยไปเกิดเป็นลูกเป็นลูกชายคนสุดท้องของขุนนางเฝ้าด่านที่ชื่อ เจ๋ง แซ่ลี่ หรือ ลี่เจ๋ง มีพี่ชายสองคนชื่อ กิ้มเชี้ย และบกเชี้ย โดยก่อนหน้าที่จะตั้งครรภ์ แม่ของท่านได้ฝันเห็นไข่มุกราตรี 1 เม็ดลอยมาหา และตั้งครรภ์นานกว่าคนปกติทั่วไปมาก ก่อนกำเนิดนั้น บริเวณรอบๆ บ้านของลี่เจ๋งจะหอมไปด้วยกลิ่นของดอกไม้ และมีแสง 7 สี สว่างวาบไปทั่ว และเมื่อจุติออกมา ลี่เจ๋งก็ต้องประหลาดใจที่ภรรยาคลอดเป็นเพียงก้อนเนื้อออกมา ด้วยความตกใจว่าจะเป็นปีศาจ เขาจึงได้เอาดาบฟันก้อนเนื้อนั้นออกเป็นสองท่อน และจึงได้พบว่าข้างในนั้น มีเด็กชายคนหนึ่ง พร้อมทั้งอาวุธติดตัวมา คือ ต้อ ( ชุดที่ใส่ ) ห่วง และอิฐทองคำ ซึ่งขณะนั้นมีอาจารย์ที่เก่งกาจท่านหนึ่ง ชื่อ เซียนซือจุน ได้บอกลี่เจ๋งและภรรยาว่าให้เลี้ยงดูต่อไป เพราะลูกชายเป็นเทพจุติลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ เพื่อปราบปีศาจเมื่อโตขึ้นมีครั้งหนึ่ง ลี้โลเชี้ย ไปเที่ยวเล่นข้างนอก เห็นทะเล จึงถอดต้อและของวิเศษออก แล้วเล่นน้ำ พร้อมกับซักต้อของตัวเอง การกระทำนี้ทำให้ ใต้สมุทรกระเทือน จนจ้าวสมุทรหรือฮ่ายเหล็งอ๋อง ต้องส่งมังกรทางทิศตะวันออกคนมาดูบนโลกว่าเกิดอะไรขึ้น แต่มังกรก็ได้กลับไปรายงานจ้าวสมุทรว่า โดนลี้โลเชี้ยทำร้ายจนบาดเจ็บ จ้าวสมุทรจึงส่งลูกไปบ้าง ปรากฏว่าโดนลี้โลเชี้ยฆ่าตาย แล้วเอาเส้นเอ็น เกล็ด ของลูกจ้าวสมุทร มาถักกันไปมา จ้าวสมุทรโกรธมากจึงขึ้นไปฟ้องเง็กเซียน ฮ่องเต้ บนสวรรค์ว่าจะทำให้โลกมนุษย์เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ลี้โลเชี้ยก็แปลงร่างตามไปสู้ถึงบนสวรรค์ จนฮ่ายเหล็งอ๋องกลายเป็นมังกรตัวเล็ก และลี้โลเชี้ยได้พับมังกรตัวเล็กนั้นใส่กระเป๋าลงมายังโลกมนุษย์ พอกลับบ้าน ลี่เจ๋งโกรธมากที่ลูกทำเรื่องเดือดร้อนครั้งใหญ่มาให้ จึงบอกว่าจะฆ่าลี้โลเชี้ยเสียให้ได้ ลี้โลเชี้ยสำนึกผิดจึงเชือดเนื้อตัวเอง แล้วคืนกระดูกให้กับพ่อของตนเมื่อตาย วิญญาณของท่านได้ล่องลอยไปหาอาจารย์เซียนซือจุน ท่านบอกว่าให้ไปเข้าฝันประชาชน เพื่อช่วยเหลือเขา เขาจะได้สร้างศาลให้อยู่ จะได้กินควันธูปควันเทียนสร้างบารมี ต่อมาลี่เจ๋งได้มาตรวจพบว่าในเมืองมีคนบูชาศาลแห่งหนึ่งมาก ตรวจพบดู จึงทราบว่าเป็นศาลของลูกชายตนเอง จึงสั่งให้ทหารทำลายเสีย ลี้โลเชี้ยเสียใจมาก เพราะตนไม่ได้คิดจองเวรกับพ่ออีกแล้ว จึงไปหาอาจารย์อีกครั้ง
เทพปราบมารซัมไท่จื้อ นาจา ลี้โลเชี้ย โลเชี้ยไท่จื้อ หรือตงตั๋นหง่วนโส่ย ล้วนเป็นชื่อเรียกเทพเจ้าองค์เดียวกัน ตามประวัติ ท่านเป็นเทพผู้เฝ้าอารักขาเง็กเซียนฮ่องเต้อยู่บนสวรรค์ โดยปกติบนสวรรค์จะมีขุนนางเฝ้าอยู่ 5 ทัพ คือ ทิศตะวันตก ตะวันออก เหนือ ใต้ และทัพกลาง โดยลี้โลเชี้ยเฝ้าอยู่ทัพกลาง ท่านมีรูปร่างสูง 6 โยชน์ มี 3 เศียร 9 เนตร 8 กรสมัยเจาเฉา เมื่อ 4,000 กว่าปีก่อน แผ่นดินจีนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เพราะฮ่องเต้ถูกปีศาจจิ้งจอก 9 หางที่แปลงตัวเป็นหญิงงามหลอกล่อให้มัวแต่หลงในกาม ไม่ออกว่าราชการ เง็กเซียนจึงให้ลี้โลชั้ยจุติลงมาบนโลกมนุษย์เพื่อปราบปีศาจ โดยไปเกิดเป็นลูกเป็นลูกชายคนสุดท้องของขุนนางเฝ้าด่านที่ชื่อ เจ๋ง แซ่ลี่ หรือ ลี่เจ๋ง มีพี่ชายสองคนชื่อ กิ้มเชี้ย และบกเชี้ย โดยก่อนหน้าที่จะตั้งครรภ์ แม่ของท่านได้ฝันเห็นไข่มุกราตรี 1 เม็ดลอยมาหา และตั้งครรภ์นานกว่าคนปกติทั่วไปมาก ก่อนกำเนิดนั้น บริเวณรอบๆ บ้านของลี่เจ๋งจะหอมไปด้วยกลิ่นของดอกไม้ และมีแสง 7 สี สว่างวาบไปทั่ว และเมื่อจุติออกมา ลี่เจ๋งก็ต้องประหลาดใจที่ภรรยาคลอดเป็นเพียงก้อนเนื้อออกมา ด้วยความตกใจว่าจะเป็นปีศาจ เขาจึงได้เอาดาบฟันก้อนเนื้อนั้นออกเป็นสองท่อน และจึงได้พบว่าข้างในนั้น มีเด็กชายคนหนึ่ง พร้อมทั้งอาวุธติดตัวมา คือ ต้อ ( ชุดที่ใส่ ) ห่วง และอิฐทองคำ ซึ่งขณะนั้นมีอาจารย์ที่เก่งกาจท่านหนึ่ง ชื่อ เซียนซือจุน ได้บอกลี่เจ๋งและภรรยาว่าให้เลี้ยงดูต่อไป เพราะลูกชายเป็นเทพจุติลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ เพื่อปราบปีศาจเมื่อโตขึ้นมีครั้งหนึ่ง ลี้โลเชี้ย ไปเที่ยวเล่นข้างนอก เห็นทะเล จึงถอดต้อและของวิเศษออก แล้วเล่นน้ำ พร้อมกับซักต้อของตัวเอง การกระทำนี้ทำให้ ใต้สมุทรกระเทือน จนจ้าวสมุทรหรือฮ่ายเหล็งอ๋อง ต้องส่งมังกรทางทิศตะวันออกคนมาดูบนโลกว่าเกิดอะไรขึ้น แต่มังกรก็ได้กลับไปรายงานจ้าวสมุทรว่า โดนลี้โลเชี้ยทำร้ายจนบาดเจ็บ จ้าวสมุทรจึงส่งลูกไปบ้าง ปรากฏว่าโดนลี้โลเชี้ยฆ่าตาย แล้วเอาเส้นเอ็น เกล็ด ของลูกจ้าวสมุทร มาถักกันไปมา จ้าวสมุทรโกรธมากจึงขึ้นไปฟ้องเง็กเซียน ฮ่องเต้ บนสวรรค์ว่าจะทำให้โลกมนุษย์เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ลี้โลเชี้ยก็แปลงร่างตามไปสู้ถึงบนสวรรค์ จนฮ่ายเหล็งอ๋องกลายเป็นมังกรตัวเล็ก และลี้โลเชี้ยได้พับมังกรตัวเล็กนั้นใส่กระเป๋าลงมายังโลกมนุษย์ พอกลับบ้าน ลี่เจ๋งโกรธมากที่ลูกทำเรื่องเดือดร้อนครั้งใหญ่มาให้ จึงบอกว่าจะฆ่าลี้โลเชี้ยเสียให้ได้ ลี้โลเชี้ยสำนึกผิดจึงเชือดเนื้อตัวเอง แล้วคืนกระดูกให้กับพ่อของตนเมื่อตาย วิญญาณของท่านได้ล่องลอยไปหาอาจารย์เซียนซือจุน ท่านบอกว่าให้ไปเข้าฝันประชาชน เพื่อช่วยเหลือเขา เขาจะได้สร้างศาลให้อยู่ จะได้กินควันธูปควันเทียนสร้างบารมี ต่อมาลี่เจ๋งได้มาตรวจพบว่าในเมืองมีคนบูชาศาลแห่งหนึ่งมาก ตรวจพบดู จึงทราบว่าเป็นศาลของลูกชายตนเอง จึงสั่งให้ทหารทำลายเสีย ลี้โลเชี้ยเสียใจมาก เพราะตนไม่ได้คิดจองเวรกับพ่ออีกแล้ว จึงไปหาอาจารย์อีกครั้ง
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ไท่ซั่งเหล่าจวิน
ไท่ซั่งเหล่าจวิน เป็นเทพที่มาจากความเชื่อในลัทธิเต๋า กล่าวกันว่า ลัทธิเต๋า มีเทพเจ้าสามพระองค์ที่ได้รับการเคารพและกราบไหว้จาผู้คนเป็นอย่างมาก เทพเจ้าทั้งสามเรียกรวมกันว่า “ซานชิง” “ซานชิง” ถือเป็นเทพผู้ชั้นสูงสุดในบรรดาเหล่าเทพและเซียนทั้งหลายบนสวรรค์ เทพซานชิงนี้ได้แก่ เทพอวี้-ชิง-หยวน-สื่อ-เทียน-จวิน, เทพซั่ง-ชิง-หลิง-เป่า-เทียน-จวิน และเทพไท่-ชิง-ต้าว-เต๋อ-เทียน-จวิน ไท่ซั่งเหล่าจวิน นั้นก็คือ องค์ต้าวเต๋อเทียนจวินนั่นเอง และองค์ต้าวเต๋อเทียนจวินองค์นี้ก็คือผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋านั่นเองในช่วงปลายสมัยราชวงศ์โจว เป็นยุคที่มีความวุ่นวายในแผ่นดิน ประวัติศาสตร์ จีน เรียกว่ายุคสงครามระหว่างรัฐ ปราชญ์เมธีนาม เล่าจื่อ ได้เขียนบันทึกที่เรียกว่า “คัมภีร์แห่งเต๋า” หรือ “ต้าวเต๋อจิง” ขึ้นมา ในบันทึกนั้นกล่าวไว้ว่าเทพของลัทธิเต๋ามีสององค์ แต่เมื่อภายหลังที่ศาสนาพุทธได้เข้ามาในประเทศจีนแล้วนั้น ในศาสนาพระพุทธเจ้า 3 องค์คือ พระอมิตาภะพุทธเจ้า, พระศากยะมุนีพุทธเจ้า และพระศรีอารียะเมตรตรัยพุทธเจ้า นักบวชในลัทธิเต๋า จึงอัญเชิญ “เล่าจื่อ” เข้ามาเป็นหนึ่งในสามเทพของเต๋า โดยมีนามว่า ต้าวเต๋อเทียนจวิน ซึ่งก็คือ เทพไท่ซ่างเหล่าจวินนั่นเองแต่เทพไท่ซ่างเหล่าจวินนี่ปรากฏในเรื่อง “ไซอิ๋ว” นั้น ไม่เชิงว่าจะไม่ใช่องค์ต้าวเต๋อเทียนจวิน แต่มีการแต่งเติมโดยใช้ องค์ต้าวเต๋อเทียนจวิน เป็นแบบอย่าง ดังนั้นหากกล่าวถึงไท่ซ่างเหล่าจวินในไซอิ๋วแล้วนั้น จะหมายถึง เทพระดับสูงบนสวรรค์ ที่มีรูปลักษณ์เป็นชายแก่ผมขาว หนวดเคราขาวยาว ถือแส้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนักพรตในลัทธิเต๋า มีหน้าที่ทำยาวิเศษ มีชื่อเรียกหลายๆ อย่างอาธิ เหล่าจวิน, เหล่าจื่อ, เหล่าจื่อต้าวจวิน, หลี่เหล่าจวิน, หลี่ปั๋วหยาง, ปั๋วหยาง เป็นต้นยาวิเศษเป็นสัญลักษณ์หนึ่งแสดงถึงความเชื่อในลัทธิเต๋าที่ถูกกาลเวลาแต่งเสริมเติมใส่สี จนคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงที่เดิมเน้อคำสอนที่มุ่งให้บุคคลเข้าในในธรรมชาติอย่างผู้มีปัญญา และดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายที่สุด กลับถูกเปลี่ยนให้เน้นหนักไปในทางอภินิหารและเวทมนต์ ทำให้ปรัชญาเต๋าได้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในลักษณะของลัทธิศาสนาที่นำเอาความเชื่อในเรื่อง หยินและหยางมาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีนที่เคยบูชาพระเจ้าในธรรมชาติ รวมทั้งความเชื่อในทางไสยศาสตร์ และการเล่นแร่แปรธาตุ การเล่นแร่แปรธาตุในสมัยโบราณคือ การทำยาวิเศษ และยาอายุวัฒนะนั่นเอง
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เตียวเทียนซื่อ หรือ ราชครูแห่งสวรรค์ ตียวเทียนซือ
เป็นเทพเจ้า ที่ได้สมญานามว่า ราชครูแห่งสวรรค์ ตอนที่อยู่ในโลกมนุษย์ ท่านชื่อ เต้าหลิง แซ่เตียว ท่านมีรูปร่างสูง 9 ฟุต 2 นิ้ว คิ้วดก หน้าผากกว้าง ผมดก ตาออกสีเขียว คางกว้าง ตาสามเหลี่ยม มีหนวดสวยงาม แขนยาวเลยเข่า ตอนอายุประมาณ 7 ปี ท่านสามารถเรียนรู้หนังสือ และตำรับตำราต่างๆ รู้ประวัติศาสตร์ รู้ดินฟ้าอากาศ รู้สวรรค์ รู้มนุษย์ เรียกว่าเป็นผู้หยั่งรู้ก็ได้ สมัยฮั่น ค.ศ.59 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนางเมืองเสฉวน ตอนหลังท่านลาออกจากราชการเพื่อออกปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นฤษี ณ มณฑลเหอหนาน อำเภอโละเหลียง ตำบลวังต๋าน ท่านมีความเคารพยกย่องแก่บรรดาครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่เคยสอนวิชาความรู้ให้กับท่าน ภายหลังท่านได้สร้างสถานปฏิบัติธรรมของท่านเองขึ้นมา ต่อมาปี ค.ศ. 89 ทางการได้เชิญให้ท่านเข้ารับราชการอีกครั้ง เพื่อเป็นขุนนางชั้นสูง ตำแหน่งราชครู อย่างไรก็ตาม ภายหลังเมื่อท่านอายุ 63 ปี ท่านก็ได้ขอลาออกจากราชการอีกครั้ง เพื่อเข้าปรุงยาอายุวัฒนะ ณ เขาแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันคือเขามังกรเสือ อำเภอซิ่นโจว ระหว่างที่อยู่ในเขาแห่งนั้น ท่านได้ใช้อิทธิฤทธิ์เพื่อปราบบรรดาปีศาจร้าย อาทิ ปราบปีศาจงูสองตัว ตัวผู้และตัวเมีย โดยฆ่าจนตาย ซึ่งแท้ที่จริงแล้วปีศาจงูนั้นก็คือสิ่งที่สวรรค์ส่งมาให้ท่านได้ใช้อิทธิฤทธิ์นั่นเอง ต่อมางูตัวนั้น จึงกลายเป็นอาวุธพิเศษของท่าน ตัวหนึ่งกลายเป็นดาบวิเศษ ส่วนอีกตัวกลายเป็นตราประทับ ค.ศ.156 เดือนอ้ายวันที่ 7 เมื่อท่านอายุ 123 ปี สวรรค์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นมหาราชย์แบบไม่มีจำกัด สามารถมีบารมีมาก และยังได้ตำแหน่งเทียนซือ หรือราชครูแห่งสวรรค์ ต่อมา เดือน 9 วันที่ 9 สวรรค์เรียกให้ท่านไปปฏิบัติธรรม ณ เขา หยินไถ และแต่งตั้งพระนามให้เป็น เจียหยิดจินหยิน โดยตั้งเมฆต่างๆ มาเป็นบริวาร ท่านเตียวเทียนซือ มีลูกศิษย์ 2 คน คือ ฉาง แซ่อ๋อง และซึ้ง แซ่เจ้า ซึ่งภายหลังท่านได้นำศิษย์ทั้งสองขึ้นไปบนสวรรค์ด้วย
วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวกำเนิดในครอบครัวของตระกูลลิ้ม มีนามว่า “กอเหนี่ยว” มีภูมิลำเนาเป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน เนื่องจากพี่ชายของเจ้าแม่ชื่อ ลิ้มเต้าเคียน (หรือลิ้มโต๊ะเคี่ยม) มีประวัติการต่อสู้อันโลดโผน ได้สร้างชื่อเสียงไว้ หนังสือ “ภูมิประวัติเมืองแต้จิ๋ว” เล่มที่ 38 เรื่อง “ชีวประวัติลิ้มเต้าเคี่ยม” กล่าวว่าท่านมีพื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอฮุยไล้ แขวงเมืองแต้จิ๋ว จากการตรวจสอบหลักฐานที่เมืองแต้จิ๋วของนักโบราณคดี ปรากฏว่าที่หมู่บ้านเที้ยเพ็งตอนใต้ ยังมีฮวงซุ้ยบรรพบุรุษตระกูล
ลิ้มเต้าเคียนเป็นประจักษ์หลายหลักฐานอยู่ที่นั่น
ในรัฐสมัยพระเจ้าโอจงฮ่องเต้แห่งราชวงศ์เหม็ง (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2065-2109)
ยังมีครอบคัวตระกูลลิ้มอยู่ครอบครัวหนึ่งมีบุตร 2 คน บุตรชายชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มีลักษณะท่าทางอันทระนง องอาจ ใจคอกว้างขวาง และมีสมัครพรรคพวกมาก ส่วนบุตรสาว มีนามว่า ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นผู้มีอัธยาศัยอันดีงาม มีความกตัญญูต่อบิดามารดา และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เมื่อเยาว์วัยทั้ง
2 คนพี่น้องได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะต่าง ๆจนแตกฉาน ลิ้มเต้าเคียนผู้พี่เป็นหนุ่มจึงได้สนองคุณบิดามารดาและเข้าสมัครเป็นราชการอำเภอ เมื่อสิ้นบุญบิดาแล้ว ลิ้มเต้าเคียนไปทำราชการอยู่ที่เมือง
จี่วจิว แขวงมณฑลฮกเกี่ยน น้องสาวลิ้มกอเหนี่ยวคอยเฝ้าปรนนิบัติมารดา ลิ้มเต้าเคียนมีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ชาวบ้านจั่วจิวต่างก็ให้ความนับถือรักใคร่ แต่เป็นที่อิจฉาและยำเกรงของเหล่า
ขุนนางกังฉินยิ่งนัก
ในรัชสมัยของพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ ปรากฏว่ามีโจรสลัดชุกชุมที่ร้ายกาจนักก็คือโจรสลัดญี่ปุ่น ได้เที่ยวปล้นบ้านตีเมืองตามชายฝั่งทะเลของจีนอยู่เนืองนิจ สร้างความเดือดร้อนเป็นอันมาก โจรสลัดญี่ปุ่นได้ระดมกำลังเข้าโจมตีมณฑลจิเกียงอย่างแรง เมืองหลวงจึงได้แต่งตั้งขุนพลนามว่า เซ็กกีกวง เป็นแม่ทัพคุมทัพเรือไปทำการปราบปรามโจรสลัดญี่ปุ่น ลิ้มเต้าเคียนจึงถูกคู่อริผู้พยาบาทถือโอกาสใส่ความว่า ลิ้มเต้าเคียนได้สมคบกับโจรสลัดญี่ปุ่น มีการซ่องสุมกำลังผู้คน และอาวุธคิดจะทำการกบฏ ลิ้มเต้าเคียนคิดว่า การที่ตนมาถูกเขาปรักปรำกล่าวโทษฉกรรจ์เช่นนี้ ย่อมไม่มี
โอกาสหาทางแก้ตัวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ลิ้มเต้าเคียนจึงได้ชักชวนเหล่าพรรคพวกของตนที่กระจัดกระจายแล้วพากันอพยพหลบภัย ด้วยการนำเรือ 30 ลำตีออกจากที่ล้อมของทหารหลวงโดยแล่นออกทะเลอย่างปลอดภัย ขบวนเรือได้บ่ายหน้าไปถึงเกาะไต้หวันเป็นแห่งแรก บางตำนานเล่าว่า ลิ้มเต้าเคียนเคยอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาจึงได้มาตั้งรากฐานอยู่ที่เมืองปัตตานี ในจดหมายเหตุราชวงศ์เหม็ง เล่มที่ 323 บันทึกว่า ลิ้มเต้าเคียนได้หลบหนีการจับกุมไปอาศัยอยู่ที่เมืองปัตตานี มีท่าเรือเรียกว่า ท่าเรือเต้าเคียน ภายหลังลิ้มเต้าเคียนได้เข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม และได้ภรรยาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้าเมืองปัตตานี เป็นที่โปรดปรานของเจ้าเมืองมาก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น
หัวหน้าด่านศุลกากร เก็บส่วยสาอากร
ลิ้มเต้าเคียนจากถิ่นฐานบ้านเดิมมาอาศัยอยู่ที่เมืองปัตตานีเป็นเวลาช้านาน ไม่ได้ส่งข่าวคราวไปให้มารดาและน้องสาวทราบ ทำให้มารดาซึ่งอู่ในวัยชรามากแล้วมีความห่วงใย ไม่รู้วาบุตรชายเป็นตายร้ายดีอย่างไร แล้วมารดาก็มักล้มป่วยอยู่เนืองๆ ลิ้มกอเหนี่ยวได้เฝ้าปรนนิบัติมารดาจนอาการป่วยหายเป็นปกติ ด้วยความกตัญญูกตเวที จึงได้ขออนุญาตจากมารดาขออาสาตามหาพี่ชายให้กลับบ้าน แต่มารดาไม่อนุญาต เพราะเกรงว่าการเดินทางจะได้รับความลำบากและเสี่ยงต่ออันตราย แต่ในที่สุด ทนต่อคำอ้อนวอนด้วยเหตุผลของลิ้มกอเหนี่ยวมิได้จึงยินยอม ลิ้มกอเหนี่ยวก็จัดสัมภาระเครื่องเดินทางเสร็จแล้วชักชวนญาติมิตรสนิทหลายคนไปด้วย ก่อนจากลิ้มกอเหนี่ยวได้ร่ำลามารดาด้วยสัจวาจาว่า “หากแม้นพี่ชายไม่ยอมกลับไปหามารดาแล้วไซร้ ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป” พร้อมกับได้อวยพรให้มารดาจงมีความสุข และสั่งญาติพี่น้องให้ช่วยกันปรนนิบัติมารดา
ลิ้มกอเหนี่ยวกับญาตินำเรือออกเดินทางเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งถึงเขตเมืองปัตตานี ได้ทอดสมอจดเรื่อไว้ที่ริมฝั่ง ลิ้มกอเหนี่ยวกับพวกได้เดินทางเข้าไปในเมืองสอบถามชาวบ้านได้ความว่า ลิ้มเต้าเคียนยังมีชีวิตอยู่ ทั้งยังได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่อยู่ที่นี่ ทุกคนต่างก็มีความปีติยินดีครั้นพบกับพี่ชายแล้ว ลิ้มกอเหนี่ยวก็เล่าความประสงค์ที่ได้ติดตามมาในครั้งนี้ว่า พี่ได้ทอดทิ้งมารดาและน้องสาว จากบ้านมาอยู่แดนไกลเสียเช่นนี้หาควรไม่ แม้นพี่กลับไปอยู่บ้านเดิมก็พอทำกินเป็นสุขได้อีก ทั้งทุกคนจะได้พร้อมหน้าอยู่ใกล้ชิดมารดา แต่ลิ้มเต้าเคียนคิดตรึกตรองแล้วว่า ถ้าหากกลับไปในขณะนี้ก็ยุ่งยากลำบากใจให้กับตนเอง เพราะทางราชการเมืองจีนยังไม่ประกาศอภัยโทษแก่ตน และฐานะความเป็นอยู่ของตนทางนี้ก็มีความสมบูรณ์พูนสุข จึงว่าแก่น้องสาวว่า พี่นั้นใช่จะเป็นผู้คิดเนรคุณทอดทิ้งมารดาและน้องสาว เพราะเหตุที่ได้ถูกทางราชการเมืองจึนกล่าวโทษว่าเป็นโจรสลัดอัปยศยิ่งนักจำต้องพลัดพรากหนีมาพึ่งพาอาศัยอยู่ที่นี่จนไม่มีโอกาสกลับไปทดแทนบุญคุณมารดาได้ อีกทั้งพี่อยู่ทางนี้ก็มีภารกิจมากมาย เพราะพี่ได้อาสาท่านเจ้าเมืองก่อสร้างมัสยิด จึงมิอาจรับคำ คิดจะกลับไปพร้อมน้องขณะนี้ได้ โปรดอภัยให้กับพี่เถิด ลิ้มเต้าเคียนก้จัดสิ่งของที่มีค่าเป็นอันมากเพื่อให้นำกลับปฝากมารดาและญาติพี่น้อง ลิ้มกอเหนี่ยวจึงขอพักอยู่ที่ปัตตานีชั่วคราว และคิดจะหาโอกาสอ้อนวอนพี่ชายกลับไปเมืองจีนต่อไป ขณะนั้นเจ้าเมืองปัตตานีได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วย
โรคชราและไม่มีบุตรที่จะยกขึ้นให้ครองเมืองต่อ พวกศรีตวันกรมการจึงปรึกษาหารือกันว่าจะเลือกบุตรพระญาติวงศ์องค์ใดที่จะยกให้เป็นเจ้าเมือง แต่ยังไม่ทันจะดำเนินการ ก็เกิดเหตุการณ์กบฏแย่งอำนาจขึ้น ถึงกับรบพุ่งนองเลือดระหว่างพระญาติวงศ์ของเจ้าเมือง พวกกบฎนั้นได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ผิดกับฝ่ายเจ้าเมืองที่ไม่ระวังมาก่อนจึงมิอาจต่อต้านป้องกันได้ทันท่วงที ลิ้มเต้าเคียนกับเหล่าทหารผู้จงรักภักดีได้ต่อสู้กับพวกกบฎ ลิ้มกอเหนี่ยวประสบเหตุการณ์เข้าเช่นนี้ ด้วยความเป็นห่วงพี่ชายจะได้รับอันตราย จึงได้เสี่ยงชีวิตเข้าช่วยพี่ชายรบกับพวกกบฎอย่างห้าวหาญ ฝ่ายกบฎที่ซุ่มอยู่อีกทางหนี่งเห็นพวกลิ้มกอเหนี่ยวรุกไล่มาก็กรูกันออกมาล้อมตีสกัดไว้ ลิ้มกอเหนี่ยวก็ไม่คิดหวาดหวั่นถอยหนีพร้อมกับพวกเข้าต่อสู้อยู่ท่ามกลางวงล้อม ดังนั้นเวลาไม่นานนัก พรรคพวกก็ถูกฆ่าตายบาดเจ็บหลายคน ลิ้มกอเหนี่ยวเห็นว่าถ้าจะสู้รบกับพวกกบฎคงจะถูกฆ่าตายแน่
จึงตัดสินใจว่า ถึงตัวตายครั้งนี้ก็ให้ปรากฏชื่อไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลลิ้ม ประกอบกับน้อยใจที่ไม่สามารถนำพี่ชายกลับเมืองจีนตามที่ได้รับปากกับมารดาไว้จึงได้ทำลายชีวิตของตนเอง ด้วยการผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์
ลิ้มเต้าเคียนกับพวกต่างเศร้าโศกยิ่ง จึงพร้อมกันจัดการศพตามประเพณีอย่างสมเกียรติ ทำเป็นฮวงซุ้ย ปรากฏมาจนทุกวันนี้ ที่อยู่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี ส่วนผู้ที่ติดตามมากับลิ้มกอเหนี่ยวในคร้งนั้นก็ไม่คิดจะกลับไปเมืองจีนอีก บรรดาคนจีนในสมัยนั้น ได้ทราบ ซึ้งถึงความกตัญญู ซื่อสัตย์ รักษาคำพูด คำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับมารดาว่า ถ้าหากนำพี่ชายคือลิ้มเต้าเคียนกลับเมืองจีนไม่ได้ จะไม่ขอกลับเมืองจีนและยินดียอมตาย บรรดาคนจีนจึงได้เอา
กิ่งมะม่วงหิมพานต์ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปลิ้มกอเหนี่ยวและกราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเล่ากันว่า ลิ้มกอเหนี่ยวได้สำแดงอันปรากฎสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและประชาชนผู้สัญจรไปมาแถบถิ่นนั้นเสมอ จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป กิตติศัพท์อภินิหารของ
ลิ้มกอเหนี่ยวในเหตุให้ประชาชนผู้เลื่อมใสสละทรัพย์สินสร้างศาลขึ้นที่หมู่บ้านกรือเซะ และสร้างรูปจำลองเพื่อไว้สักการะโดยทำพิธีอัญเชิญวิญญาณมาสิงสถิตในรูปจำลองนั้น พร้อมกับขนานนามว่า “เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” ปรากฏว่ามีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้าแม่ช่วยเหลือ เมื่อบนบานแล้วต่างบังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน จึงทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม้ลิ้มกอเหน่ยวแผ่ไพศาลออกไปยังเมืองอื่นๆ
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวกำเนิดในครอบครัวของตระกูลลิ้ม มีนามว่า “กอเหนี่ยว” มีภูมิลำเนาเป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน เนื่องจากพี่ชายของเจ้าแม่ชื่อ ลิ้มเต้าเคียน (หรือลิ้มโต๊ะเคี่ยม) มีประวัติการต่อสู้อันโลดโผน ได้สร้างชื่อเสียงไว้ หนังสือ “ภูมิประวัติเมืองแต้จิ๋ว” เล่มที่ 38 เรื่อง “ชีวประวัติลิ้มเต้าเคี่ยม” กล่าวว่าท่านมีพื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอฮุยไล้ แขวงเมืองแต้จิ๋ว จากการตรวจสอบหลักฐานที่เมืองแต้จิ๋วของนักโบราณคดี ปรากฏว่าที่หมู่บ้านเที้ยเพ็งตอนใต้ ยังมีฮวงซุ้ยบรรพบุรุษตระกูล
ลิ้มเต้าเคียนเป็นประจักษ์หลายหลักฐานอยู่ที่นั่น
ในรัฐสมัยพระเจ้าโอจงฮ่องเต้แห่งราชวงศ์เหม็ง (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2065-2109)
ยังมีครอบคัวตระกูลลิ้มอยู่ครอบครัวหนึ่งมีบุตร 2 คน บุตรชายชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มีลักษณะท่าทางอันทระนง องอาจ ใจคอกว้างขวาง และมีสมัครพรรคพวกมาก ส่วนบุตรสาว มีนามว่า ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นผู้มีอัธยาศัยอันดีงาม มีความกตัญญูต่อบิดามารดา และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เมื่อเยาว์วัยทั้ง
2 คนพี่น้องได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะต่าง ๆจนแตกฉาน ลิ้มเต้าเคียนผู้พี่เป็นหนุ่มจึงได้สนองคุณบิดามารดาและเข้าสมัครเป็นราชการอำเภอ เมื่อสิ้นบุญบิดาแล้ว ลิ้มเต้าเคียนไปทำราชการอยู่ที่เมือง
จี่วจิว แขวงมณฑลฮกเกี่ยน น้องสาวลิ้มกอเหนี่ยวคอยเฝ้าปรนนิบัติมารดา ลิ้มเต้าเคียนมีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ชาวบ้านจั่วจิวต่างก็ให้ความนับถือรักใคร่ แต่เป็นที่อิจฉาและยำเกรงของเหล่า
ขุนนางกังฉินยิ่งนัก
ในรัชสมัยของพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ ปรากฏว่ามีโจรสลัดชุกชุมที่ร้ายกาจนักก็คือโจรสลัดญี่ปุ่น ได้เที่ยวปล้นบ้านตีเมืองตามชายฝั่งทะเลของจีนอยู่เนืองนิจ สร้างความเดือดร้อนเป็นอันมาก โจรสลัดญี่ปุ่นได้ระดมกำลังเข้าโจมตีมณฑลจิเกียงอย่างแรง เมืองหลวงจึงได้แต่งตั้งขุนพลนามว่า เซ็กกีกวง เป็นแม่ทัพคุมทัพเรือไปทำการปราบปรามโจรสลัดญี่ปุ่น ลิ้มเต้าเคียนจึงถูกคู่อริผู้พยาบาทถือโอกาสใส่ความว่า ลิ้มเต้าเคียนได้สมคบกับโจรสลัดญี่ปุ่น มีการซ่องสุมกำลังผู้คน และอาวุธคิดจะทำการกบฏ ลิ้มเต้าเคียนคิดว่า การที่ตนมาถูกเขาปรักปรำกล่าวโทษฉกรรจ์เช่นนี้ ย่อมไม่มี
โอกาสหาทางแก้ตัวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ลิ้มเต้าเคียนจึงได้ชักชวนเหล่าพรรคพวกของตนที่กระจัดกระจายแล้วพากันอพยพหลบภัย ด้วยการนำเรือ 30 ลำตีออกจากที่ล้อมของทหารหลวงโดยแล่นออกทะเลอย่างปลอดภัย ขบวนเรือได้บ่ายหน้าไปถึงเกาะไต้หวันเป็นแห่งแรก บางตำนานเล่าว่า ลิ้มเต้าเคียนเคยอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาจึงได้มาตั้งรากฐานอยู่ที่เมืองปัตตานี ในจดหมายเหตุราชวงศ์เหม็ง เล่มที่ 323 บันทึกว่า ลิ้มเต้าเคียนได้หลบหนีการจับกุมไปอาศัยอยู่ที่เมืองปัตตานี มีท่าเรือเรียกว่า ท่าเรือเต้าเคียน ภายหลังลิ้มเต้าเคียนได้เข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม และได้ภรรยาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้าเมืองปัตตานี เป็นที่โปรดปรานของเจ้าเมืองมาก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น
หัวหน้าด่านศุลกากร เก็บส่วยสาอากร
ลิ้มเต้าเคียนจากถิ่นฐานบ้านเดิมมาอาศัยอยู่ที่เมืองปัตตานีเป็นเวลาช้านาน ไม่ได้ส่งข่าวคราวไปให้มารดาและน้องสาวทราบ ทำให้มารดาซึ่งอู่ในวัยชรามากแล้วมีความห่วงใย ไม่รู้วาบุตรชายเป็นตายร้ายดีอย่างไร แล้วมารดาก็มักล้มป่วยอยู่เนืองๆ ลิ้มกอเหนี่ยวได้เฝ้าปรนนิบัติมารดาจนอาการป่วยหายเป็นปกติ ด้วยความกตัญญูกตเวที จึงได้ขออนุญาตจากมารดาขออาสาตามหาพี่ชายให้กลับบ้าน แต่มารดาไม่อนุญาต เพราะเกรงว่าการเดินทางจะได้รับความลำบากและเสี่ยงต่ออันตราย แต่ในที่สุด ทนต่อคำอ้อนวอนด้วยเหตุผลของลิ้มกอเหนี่ยวมิได้จึงยินยอม ลิ้มกอเหนี่ยวก็จัดสัมภาระเครื่องเดินทางเสร็จแล้วชักชวนญาติมิตรสนิทหลายคนไปด้วย ก่อนจากลิ้มกอเหนี่ยวได้ร่ำลามารดาด้วยสัจวาจาว่า “หากแม้นพี่ชายไม่ยอมกลับไปหามารดาแล้วไซร้ ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป” พร้อมกับได้อวยพรให้มารดาจงมีความสุข และสั่งญาติพี่น้องให้ช่วยกันปรนนิบัติมารดา
ลิ้มกอเหนี่ยวกับญาตินำเรือออกเดินทางเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งถึงเขตเมืองปัตตานี ได้ทอดสมอจดเรื่อไว้ที่ริมฝั่ง ลิ้มกอเหนี่ยวกับพวกได้เดินทางเข้าไปในเมืองสอบถามชาวบ้านได้ความว่า ลิ้มเต้าเคียนยังมีชีวิตอยู่ ทั้งยังได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่อยู่ที่นี่ ทุกคนต่างก็มีความปีติยินดีครั้นพบกับพี่ชายแล้ว ลิ้มกอเหนี่ยวก็เล่าความประสงค์ที่ได้ติดตามมาในครั้งนี้ว่า พี่ได้ทอดทิ้งมารดาและน้องสาว จากบ้านมาอยู่แดนไกลเสียเช่นนี้หาควรไม่ แม้นพี่กลับไปอยู่บ้านเดิมก็พอทำกินเป็นสุขได้อีก ทั้งทุกคนจะได้พร้อมหน้าอยู่ใกล้ชิดมารดา แต่ลิ้มเต้าเคียนคิดตรึกตรองแล้วว่า ถ้าหากกลับไปในขณะนี้ก็ยุ่งยากลำบากใจให้กับตนเอง เพราะทางราชการเมืองจีนยังไม่ประกาศอภัยโทษแก่ตน และฐานะความเป็นอยู่ของตนทางนี้ก็มีความสมบูรณ์พูนสุข จึงว่าแก่น้องสาวว่า พี่นั้นใช่จะเป็นผู้คิดเนรคุณทอดทิ้งมารดาและน้องสาว เพราะเหตุที่ได้ถูกทางราชการเมืองจึนกล่าวโทษว่าเป็นโจรสลัดอัปยศยิ่งนักจำต้องพลัดพรากหนีมาพึ่งพาอาศัยอยู่ที่นี่จนไม่มีโอกาสกลับไปทดแทนบุญคุณมารดาได้ อีกทั้งพี่อยู่ทางนี้ก็มีภารกิจมากมาย เพราะพี่ได้อาสาท่านเจ้าเมืองก่อสร้างมัสยิด จึงมิอาจรับคำ คิดจะกลับไปพร้อมน้องขณะนี้ได้ โปรดอภัยให้กับพี่เถิด ลิ้มเต้าเคียนก้จัดสิ่งของที่มีค่าเป็นอันมากเพื่อให้นำกลับปฝากมารดาและญาติพี่น้อง ลิ้มกอเหนี่ยวจึงขอพักอยู่ที่ปัตตานีชั่วคราว และคิดจะหาโอกาสอ้อนวอนพี่ชายกลับไปเมืองจีนต่อไป ขณะนั้นเจ้าเมืองปัตตานีได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วย
โรคชราและไม่มีบุตรที่จะยกขึ้นให้ครองเมืองต่อ พวกศรีตวันกรมการจึงปรึกษาหารือกันว่าจะเลือกบุตรพระญาติวงศ์องค์ใดที่จะยกให้เป็นเจ้าเมือง แต่ยังไม่ทันจะดำเนินการ ก็เกิดเหตุการณ์กบฏแย่งอำนาจขึ้น ถึงกับรบพุ่งนองเลือดระหว่างพระญาติวงศ์ของเจ้าเมือง พวกกบฎนั้นได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ผิดกับฝ่ายเจ้าเมืองที่ไม่ระวังมาก่อนจึงมิอาจต่อต้านป้องกันได้ทันท่วงที ลิ้มเต้าเคียนกับเหล่าทหารผู้จงรักภักดีได้ต่อสู้กับพวกกบฎ ลิ้มกอเหนี่ยวประสบเหตุการณ์เข้าเช่นนี้ ด้วยความเป็นห่วงพี่ชายจะได้รับอันตราย จึงได้เสี่ยงชีวิตเข้าช่วยพี่ชายรบกับพวกกบฎอย่างห้าวหาญ ฝ่ายกบฎที่ซุ่มอยู่อีกทางหนี่งเห็นพวกลิ้มกอเหนี่ยวรุกไล่มาก็กรูกันออกมาล้อมตีสกัดไว้ ลิ้มกอเหนี่ยวก็ไม่คิดหวาดหวั่นถอยหนีพร้อมกับพวกเข้าต่อสู้อยู่ท่ามกลางวงล้อม ดังนั้นเวลาไม่นานนัก พรรคพวกก็ถูกฆ่าตายบาดเจ็บหลายคน ลิ้มกอเหนี่ยวเห็นว่าถ้าจะสู้รบกับพวกกบฎคงจะถูกฆ่าตายแน่
จึงตัดสินใจว่า ถึงตัวตายครั้งนี้ก็ให้ปรากฏชื่อไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลลิ้ม ประกอบกับน้อยใจที่ไม่สามารถนำพี่ชายกลับเมืองจีนตามที่ได้รับปากกับมารดาไว้จึงได้ทำลายชีวิตของตนเอง ด้วยการผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์
ลิ้มเต้าเคียนกับพวกต่างเศร้าโศกยิ่ง จึงพร้อมกันจัดการศพตามประเพณีอย่างสมเกียรติ ทำเป็นฮวงซุ้ย ปรากฏมาจนทุกวันนี้ ที่อยู่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี ส่วนผู้ที่ติดตามมากับลิ้มกอเหนี่ยวในคร้งนั้นก็ไม่คิดจะกลับไปเมืองจีนอีก บรรดาคนจีนในสมัยนั้น ได้ทราบ ซึ้งถึงความกตัญญู ซื่อสัตย์ รักษาคำพูด คำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับมารดาว่า ถ้าหากนำพี่ชายคือลิ้มเต้าเคียนกลับเมืองจีนไม่ได้ จะไม่ขอกลับเมืองจีนและยินดียอมตาย บรรดาคนจีนจึงได้เอา
กิ่งมะม่วงหิมพานต์ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปลิ้มกอเหนี่ยวและกราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเล่ากันว่า ลิ้มกอเหนี่ยวได้สำแดงอันปรากฎสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและประชาชนผู้สัญจรไปมาแถบถิ่นนั้นเสมอ จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป กิตติศัพท์อภินิหารของ
ลิ้มกอเหนี่ยวในเหตุให้ประชาชนผู้เลื่อมใสสละทรัพย์สินสร้างศาลขึ้นที่หมู่บ้านกรือเซะ และสร้างรูปจำลองเพื่อไว้สักการะโดยทำพิธีอัญเชิญวิญญาณมาสิงสถิตในรูปจำลองนั้น พร้อมกับขนานนามว่า “เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” ปรากฏว่ามีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้าแม่ช่วยเหลือ เมื่อบนบานแล้วต่างบังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน จึงทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม้ลิ้มกอเหน่ยวแผ่ไพศาลออกไปยังเมืองอื่นๆ
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประวัติ องค์หลิมฮู้ไท้ซู่
หลิมฮู่ไท่ซู หรือ หลินโหวไท่โส่ว หรือ จิ้นอันอ๋อง เป็นเทพองค์หนึ่งที่รู้จักกันดี เดิมชื่อ ลู่ (ลก) แซ่หลิน (หลิม) บิดาชื่อ หลินอิ่ง มารดาชื่อ ปิ่นซื่อ บิดาไปรับราชการที่เมืองจีหนาน (ซานตง) ได้ให้กำเนิดบุตรชายสองคน คนพี่ชื่อ หลินมู่ (หลิมมก) ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.815 คนน้องชื่อ หลินลู่ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 3 ค่ำ เดือน 4 (บางตำนานถือเอา วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1) ตามจันทรคติ เป็นปีไท่สื่อที่ 10 รัชสมัยฮ่องเต้จิ้นอู่ตี้ (ซือหมาเอี๋ยน) แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก เมื่อ พ.ศ.817 และสืบลำดับแซ่หลินจากปิเจียนกง ผู้เป็นต้นแซ่หลินเป็นรุ่นที่ 69 ต่อมาบิดาย้ายมารับราชการที่เมืองซูโจว และเมื่อ พ.ศ.820 โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองหลวงลั่วหยาง เพื่อรับตำแหน่งหวงเหมินซื่อหลาง นายทหารรักษาพระองค์ ส่วนหลินลู่เข้ารับราชการทหารเมื่ออายุได้ 16 ปีในหลงเย่อ๋อง (ซือหม่าลุ่ยอ๋อง ประสูติ พ.ศ.819 โอรสฮ่องเต้จิ้นอู่ตี้) จนกระทั่ง พ.ศ.833 ฮ่องเต้จิ้นฮู้ตี้เสด็จสวรรคต ซือหม่าจงอ๋องเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้จิ้นฮุยตี้
สภาพบ้านเมืองหลังยุคสามก๊กสงบไปได้หน่อยหนึ่งในสมัยจิ้นอู่ตี้ แต่หลังจากนั้น พวกแซ่ซือหม่าอ๋องที่เป็นข้าหลวงอยู่หัวเมืองและภายในเมืองหลวงต่างแย่งกันเป็นใหญ่ นอกจากนี้พวกชนเผ่าทางภาคเหนือที่เรียกว่า พวกอู่หู อพยพเข้าภาคกลางลงไปทางภาคใต้เป็นล้านคน บ้านเมืองวุ่นวายเพราะหัวหน้าชนเผ่าเป็นขบถ ต่างยกตนเป็นอ๋องสร้างอาณาจักรด้วยการตีเมืองที่อ่อนแอกว่า ในเมืองหลวงพวกราชสกุลซือหม่าต่างฆ่าฟันกันเองระหว่างญาติ หลงเย่อ๋องจึงตัดสินใจอพยพไปสมทบกับซือหม่าอุยซึ่งเป็นตงไห่อ๋อง ที่ภูเขาจิ่วหลงซาน แล้วอพยพไปตั้งหลักที่เมืองซูโจว หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้หลินลู่ดำรงตำแหน่ง หวงเหมินซื่อหลาง นายทหารรักษาพระองค์
ข้างพวกซือหม่าอ๋องยกทัพเข้าเมืองลั่วหยาง จนฮ่องเต้จิ้นสุ่ยตี้เสด็จหนีไปประทับที่เมืองฉางอาน ตงไห่อ๋องและหลงเย่อ๋องต้องยกทัพจากเมืองซูโจวไปปราบพวกอ๋องและนายพลที่คุมฮ่องเต้อยู่ แล้วเชิญเสด็จให้ไปประทับที่ลั่วหยางตามเดิม หลินลู่ได้ตามเสด็จหลงเย่อ๋องเข้าร่วมรบด้วย เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว หลงเย่อ๋องพร้อมด้วยหลินลู่กลับสู่เมืองซูโจว
หลินลู่ได้ภรรยาชื่อ จางซ่อ มีบุตรชาย 5 คน เมื่อเติบใหญ่ต่างเข้ารับราชการมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานทั่วไปว่า “ห้าอาชารุ่งโรจน์ทางใต้” ของฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง
ส่วนตงไห่อ๋องไม่พอใจที่ฮ่องเต้จิ้นสุ่ยตี้โปรดเกล้าให้ซือหม่าทั้ง 5 องค์เข้ามารับราชการในเมืองหลวง จึงลอบปลงพระชนม์เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.849 ขณะนั้นหลินลู่อายุได้ 32 ปี ซือหม่าอ๋องเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้จิ้นไหวตี้ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถเฉลียวฉลาด โปรดเกล้าฯให้หลงเย่อ๋อง เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเจี้ยนเย่ (นานกิง) ข้างหลิวเอวียนหัวหน้าชนเผ่าซวงหนูตั้งตนเป้นเจ้าตั้งอาณาจักรฮั่น (จ้าว) ยกมาตีเมืองลั่วหยาง เผาเมืองเสียสิ้นแล้วจับฮ่องเต้จิ้นไหวตี้ไปเมืองจ้าว พระองค์เสด็จสวรรคตที่นั่น ฮ่องเต้จิ้นหมินตี้ เมื่อ พ.ศ.856 ขณะที่หลินลู่อายุได้ 39 ปี โปรดเกล้าฯให้หลงเย่อ๋องเป็น พระมหาอุปราช
หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯให้เอวียนก้วนยกทัพไปตีเมืองปาถง ซึ่งมี โต้ทาว เป็นเจ้าเมือง หลินลู่ในฐานะนายทหารเข้าร่วมรบด้วย จนได้รับชัยชนะ หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯให้บำเหน็จนายทหารเลื่อนยศตามความชอบ หลินลู่ได้เลื่อนยศเป็น นายพลจาวเอวี๋ยน
ข้างหลิวเอวียนยกทัพเข้าตีเมืองฉางอานแตก จับฮ่องเต้จิ้นหมิ่นตี้ไปเมืองจ้าว ในช่วงนั้นโปรดเกล้าฯให้มีรับสั่งถึงหลงเย๋อ๋องขอให้ยกตนเป็นฮ่องเต้เสียในฐานะพระมหาอุปราช แต่หลงเย่อ๋องขอเป็นเพียง จิ้นอ๋อง หลังจากเสด็จสวรรคตที่เมืองจ้าวแล้วหลงเย่อ๋องจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น ฮ่องเต้เอวียนตี้ เป็นปฐมราชวงศ์จิ้นตะวันออก เมื่อ พ.ศ.860 แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ที่เมืองเจี้ยนเย่ จึงย้ายเมืองหลวงจากเมืองซูโจวมายังเมืองเจี้ยนเย่ เปลี่ยนนามเมืองเป็น เจี้ยนคัง ขณะนั้นหลินลู่อายุได้ 43 ปี โปรดให้หลินลู่เข้ารับตำแหน่ง ส่านจี้ฉางซื่อ เป็นคณะกรรมการบริหารระดับสูง และยังโปรดเกล้าฯให้หลินลู่เป็นข้าหลวงเมืองเหอผู่ หรือ เหอผู่ไท่โส่ว อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
สภาพบ้านเมืองหลังยุคสามก๊กสงบไปได้หน่อยหนึ่งในสมัยจิ้นอู่ตี้ แต่หลังจากนั้น พวกแซ่ซือหม่าอ๋องที่เป็นข้าหลวงอยู่หัวเมืองและภายในเมืองหลวงต่างแย่งกันเป็นใหญ่ นอกจากนี้พวกชนเผ่าทางภาคเหนือที่เรียกว่า พวกอู่หู อพยพเข้าภาคกลางลงไปทางภาคใต้เป็นล้านคน บ้านเมืองวุ่นวายเพราะหัวหน้าชนเผ่าเป็นขบถ ต่างยกตนเป็นอ๋องสร้างอาณาจักรด้วยการตีเมืองที่อ่อนแอกว่า ในเมืองหลวงพวกราชสกุลซือหม่าต่างฆ่าฟันกันเองระหว่างญาติ หลงเย่อ๋องจึงตัดสินใจอพยพไปสมทบกับซือหม่าอุยซึ่งเป็นตงไห่อ๋อง ที่ภูเขาจิ่วหลงซาน แล้วอพยพไปตั้งหลักที่เมืองซูโจว หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้หลินลู่ดำรงตำแหน่ง หวงเหมินซื่อหลาง นายทหารรักษาพระองค์
ข้างพวกซือหม่าอ๋องยกทัพเข้าเมืองลั่วหยาง จนฮ่องเต้จิ้นสุ่ยตี้เสด็จหนีไปประทับที่เมืองฉางอาน ตงไห่อ๋องและหลงเย่อ๋องต้องยกทัพจากเมืองซูโจวไปปราบพวกอ๋องและนายพลที่คุมฮ่องเต้อยู่ แล้วเชิญเสด็จให้ไปประทับที่ลั่วหยางตามเดิม หลินลู่ได้ตามเสด็จหลงเย่อ๋องเข้าร่วมรบด้วย เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว หลงเย่อ๋องพร้อมด้วยหลินลู่กลับสู่เมืองซูโจว
หลินลู่ได้ภรรยาชื่อ จางซ่อ มีบุตรชาย 5 คน เมื่อเติบใหญ่ต่างเข้ารับราชการมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานทั่วไปว่า “ห้าอาชารุ่งโรจน์ทางใต้” ของฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง
ส่วนตงไห่อ๋องไม่พอใจที่ฮ่องเต้จิ้นสุ่ยตี้โปรดเกล้าให้ซือหม่าทั้ง 5 องค์เข้ามารับราชการในเมืองหลวง จึงลอบปลงพระชนม์เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.849 ขณะนั้นหลินลู่อายุได้ 32 ปี ซือหม่าอ๋องเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้จิ้นไหวตี้ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถเฉลียวฉลาด โปรดเกล้าฯให้หลงเย่อ๋อง เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเจี้ยนเย่ (นานกิง) ข้างหลิวเอวียนหัวหน้าชนเผ่าซวงหนูตั้งตนเป้นเจ้าตั้งอาณาจักรฮั่น (จ้าว) ยกมาตีเมืองลั่วหยาง เผาเมืองเสียสิ้นแล้วจับฮ่องเต้จิ้นไหวตี้ไปเมืองจ้าว พระองค์เสด็จสวรรคตที่นั่น ฮ่องเต้จิ้นหมินตี้ เมื่อ พ.ศ.856 ขณะที่หลินลู่อายุได้ 39 ปี โปรดเกล้าฯให้หลงเย่อ๋องเป็น พระมหาอุปราช
หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯให้เอวียนก้วนยกทัพไปตีเมืองปาถง ซึ่งมี โต้ทาว เป็นเจ้าเมือง หลินลู่ในฐานะนายทหารเข้าร่วมรบด้วย จนได้รับชัยชนะ หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯให้บำเหน็จนายทหารเลื่อนยศตามความชอบ หลินลู่ได้เลื่อนยศเป็น นายพลจาวเอวี๋ยน
ข้างหลิวเอวียนยกทัพเข้าตีเมืองฉางอานแตก จับฮ่องเต้จิ้นหมิ่นตี้ไปเมืองจ้าว ในช่วงนั้นโปรดเกล้าฯให้มีรับสั่งถึงหลงเย๋อ๋องขอให้ยกตนเป็นฮ่องเต้เสียในฐานะพระมหาอุปราช แต่หลงเย่อ๋องขอเป็นเพียง จิ้นอ๋อง หลังจากเสด็จสวรรคตที่เมืองจ้าวแล้วหลงเย่อ๋องจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น ฮ่องเต้เอวียนตี้ เป็นปฐมราชวงศ์จิ้นตะวันออก เมื่อ พ.ศ.860 แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ที่เมืองเจี้ยนเย่ จึงย้ายเมืองหลวงจากเมืองซูโจวมายังเมืองเจี้ยนเย่ เปลี่ยนนามเมืองเป็น เจี้ยนคัง ขณะนั้นหลินลู่อายุได้ 43 ปี โปรดให้หลินลู่เข้ารับตำแหน่ง ส่านจี้ฉางซื่อ เป็นคณะกรรมการบริหารระดับสูง และยังโปรดเกล้าฯให้หลินลู่เป็นข้าหลวงเมืองเหอผู่ หรือ เหอผู่ไท่โส่ว อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)